วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

Diary Note 8 September 2015

DIARY NOTE NO.4

Learning Content  (เนื้อหาการเรียนรู้)

- อาจารย์แจกกระดาษ 1 แผ่นที่เด็กจะได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์
เมื่อแจกกระดาษมาแล้วอาจารย์ให้แต่ล้ะคนนำกระดาษมาทำของเล่นมาทำสื่อเพื่อจะสอนเรื่องพลังงานสอนวิทยาศาสตร์แก่เด็ก




นี่คือสื่อที่ข้าพเจ้าจะนำมาสอนเด็ก มันคือจรวจ สื่อสิ่งนี้จะนำมาสอนในเรื่องของวิทยาศาสตร์คือเรื่องของแรงและการเคลื่อนที่ และนอกจากที่ได้อธิบายไปแล้วอาจารย์ยังมีการอธิบายเพิ่มอีกว่า  *ลมคือ มวลอากาศที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่*
* อากาศมีตัวตนและต้องการที่อยู่*
* พูดถึงทฤษฏีของเพียเจย์ เด็กเลือกชิ้นงาน   สร้างผลงานขึ้นมาเอง*
* เด็กจะตอบตามที่ดาของเค้าเห็น*
- นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมศิลปะสร้าสรรค์จากใบไม้และดอกไม้ด้วย




Learning Media (สื่อการเรียนรู้)



- กระดาษ

-คอมพิวเตอร์

-ดอกไม้  ใบไม้



The skills (ทักษะ)



1. ได้ฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์
2.  การออกแบบ
3.  การแก้ไขปัญหา
4.  การคิดวิเคราะห์


Applications (การประยุกต์ใช้งาน)

สามารถนำไปใช้เวลาสอนวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนได้อย่างดีเพราะวิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาหลักที่จะไปอธิบายให้เด็กฟังคงเป็นเรื่องที่ยากมากแต่การทำของเล่นทำสื่อหรือให้เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเองครูจะสามารถอธิบายได้ง่ายกว่าเพราะอย่างแรกเด็กจะทำอะไรตัวของเขาจะต้องเข้าใจหลักของวิทยาศาสตร์แล้ว

The atmosphere in the classroom (บรรยากาศในห้องเรียน)



เพื่อนๆให้ความสนใจกับกระดาษที่ได้รับมาอย่างสนุกสนานต่างคนต่างลงมือทำชิ้นงานของตนเองอย่างเต็มที่ นอกจากนี้เพื่อนๆยังช่วยกันเวลาที่อาจารย์ถามเพื่อนๆว่าชิ้นงานนี้จะเอาไปสอนเด็กยังไง



Teacher Evaluation (การประเมินผลครู)


อาจารย์มีการตั้งคำถามเพื่อที่จะดึงความรู้ในตัวนักศึกษาทุกคนออกมาอย่างเต็มที่จนบางครั้งก้ไม่รูู้ว่าคำตอบควรจะเป็นอะไรดี บางครั้งก้อกดดันแต่ถ้าอาจารย์ไม่ทำแบบนี้ก็จะไม่มีคนพยายามคิดหนุชอบนะค่ะการเรียนแบบนี้

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

Diary Note 1 September 2015

Diary Note No.3



Learning Content  (เนื้อหาการเรียนรู้)



        วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีงานที่ทางคณะศึกษาศาสตร์ได้จัดงานทางวิชาการขึ้นที่บริเวณใต้ตึก 28 ดั่งนั้นอาจารย์จึงให้นักศึกษาทุกคนไปเข้าร่วมงานในหัวข้อ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Learning in the 21st Century)

ในการเรียนรู้ในหัวข้อนี้มีสาระสำคัณดังนี้
  

Learning 3R x 7C

3R

Reading (อ่านออก)(W)Riting (เขียนได้)(A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)


7C

            Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ ทักษะในการแก้ปัญหา)     Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรฒ)     Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)     Collaboration,Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ)     Communication,Information, and media Literacy (ทักษะ้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ)     Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)     Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้)


หลักสูตร และการสอนในศตวรรษที่ 21

1.สอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแยกกัน ในบริบทของวิชาหลักและ รูปแบบสหวิทยาการในศตวรรษที่ 21

2.มุ่งเน้นไปที่การให้โอกาสสำหรับการใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในเนื้อหาและวิธีการตามความสามารถในการเรียนรู้

3.ช่วยให้วิธีการเรียนรู้นวัตกรรมที่บูรณาการการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนแนวทางเพิ่มเติมในการใช้ปัญหาเป็นฐาน และทักษะการคิดขั้นสูง

4.สนับสนุนให้รวมทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน

คุณลักษณะของครูในยุคศตวรรษที่ 21 (Features of Teacher in the 21st Century)

1..Expanded มีความสามารถในการถ่ายทอดหรือขยายความรู้ของตนสู่นักเรียนผ่านเทคโนโลยี2..Experience มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้แบบใหม่3..Exploration มีความสามารถในการเสาะหาและคัดเลือกเนื้อหาความรู้หรือเนื้อหาที่ทันสมัย4..Extended มีทักษะการแสวงหาความรู้ใมห่ๆ เพื่อขยายองค์ความรู้ของตนเองผ่านทางสื่อเทคโนโลยี5..Evaluation เป็นนักประเมินที่ดี มีความบริสุทธ์ยุติกรรม และ ความสามารถในการประเมินผล6..End-User เป็นผู้ที่ใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า ใช้ได้อย่างหลากหลาย7..Efficient and Effective สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล8..Enabler สามารถใช้เทคโนโลยีสร้างบทเรียน เนื้อหา และสื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ9..Engagement ต้องร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันผ่านสื่อเทคโนโลยีจนพัฒนาเป็นเครือข่ายความร่วมมือ

 ภาพประกอบกิจกรรม











Learning Media (สื่อการเรียนรู้)

1.  ผลงานของแต่ล่ะสาขาวิชา

2.  คอมพิวเตอร์



The skills (ทักษะ)

1.  ได้ทักษะในการสอนที่เหมาะแก่คนในศตวรรษที่ 21 มากยิ่งขึ้น

2.  ได้ทักษะในด้านการฟังเพื่อสรุป

3.   ได้ฝึกการคิดเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล


Applications (การประยุกต์ใช้งาน)

สำหรับการประยุกต์ใช้ในงานครั้งนี้ที่จัดขึ้นการให้ความรู้นี้เหมาะแก่ตัวผู้ฟังบรรยายเป็นอย่างมากเพราะว่าการฟังบรรยายในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนอีกไม่กี่ปีข้างหน้าที่จะต้องออกไปปฏิบัติงานจริงๆ


The atmosphere in the classroom (บรรยากาศในห้องเรียน)

เป็นงานบรรยายก็อาจจะมีบ้างที่จะไม่สนใจที่พูดคุยกันบ้างแต่ทุกคนก็ให้ความร่วมมือจนจบกิจกรรมดีมากค่ะ



teacher Evaluation (การประเมินผลครู)

ผู้บรรยายมีการเตรียมความพร้อมมาอย่างดีมากให้ความรู้ได้ตรงกับหัวข้อของงานและพูดเข้าใจได้อย่างง่าย

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

Diary Note 25 August 201

Diary Note No.2



Learning Content  (เนื้อหาการเรียนรู้)

พัฒนาการทางสติปัญญา  (Cognitive development)           
         หมายถึง  ความเจริญงอกงามด้านความสามารถ ทางภาษา และการคิดของแต่ละบุคคล

พัฒนาขึ้นมาจากการมีปฏิสัมพันธ์  interaction  กับสิ่งแวดล้อม

          - เริ่มต้นตั้งแต่เกิดผลของการมีปฏิสัมพันธ์จะทำให้เด็กรู้จักตนเอง (self)  เพราะตอนเเรกเด็กจะยังไม่สามารถแยก "ตน" ออกจากสิ่งแวดล้อมได้   
          - การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม  เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาและตลอดชีวิตทั้งนี้เพื่อให้เกิดการสมดุล  (equilibrium)   
          - การมีปฏิสัมพัธ์กับสิ่งแวดล้อมจะปรับปรุงเปลี่ยนเเปลงคลอดเวลาเพื่อให้เกิดการสมดุลระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม


กระบวนการปฏิสัมพันธ์  ( interaction)  ประกอบด้วย  2  กระบวนการ


1)การดูดซึม  (assimilation) 

    fitting a new experience into an exisiting mantal structure (schema)
    - เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่เข้าอยู่ในโครงสร้างสติปัญญา      
2)กระบวนการโครงสร้าง (accommodation)
    revising an exisiting schema because of new experienee.
    - การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของเชาว์ปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่
    - การปรับตัวเข้าสู้สภาวะสมดุลระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม
    Equflibrium seeking cognitive stability through assimilation and accomodation.
    - การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่
    - การปรับโครงสร้างเป็นการปรับโครงสร้างความคิดเดิมให้สอดคล้องให้เหมาะสมกับแระสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ
    - การปรับแนวคิดและพฤติกรรมจะทำให้เกิดภาวะสมดุล


Learning Media (สื่อการเรียนรู้)

1. computer


The skills (ทักษะ)

1. ได้ทักษะการตอบคำถาม  

2.  การสอนแบบถามตอบช่วยผู้เรียน


Applications (การประยุกต์ใช้งาน)

การนำไปใช้สำหรับวิทยาศาสตร์ได้นำเอาไปประยุกต์ใช้ได้หลายกิจกรรม ทำให้กิจกรรมที่สอนไม่น่าเบื่อเราะวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่น่าตื่นเต้น


The atmosphere in the classroom (บรรยากาศในห้องเรียน)

Learn more friends เพื่อนๆที่มาก็ตั้งใจเป็นอย่างมาก ร่วมกันช่วยตอบคำถามอย่างสนุกสนาน



teacher Evaluation (การประเมินผลครู)

teacher มีความพร้อมในการสอนอย่างเต็มที่  มีการช่วยเน้นในการสอนอย่างชัดเจนจนนักศึกษาเข้าใจอย่างชัดเจน

Diary Note 21 August 2015

สรุปบทความเรื่อง  วิทยาศาสตร์กับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย


       เด็กเป็นนักค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้โดยธรรมชาติ  การหยิบจับ  สัมผัส  และการสังเกต เป็นวิธีการเรียนวิทยาศาสตร์  พฤติกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็ก  คล้ายกับการเรียนเหตุผลทางคณิตศาสตร์

       โดยพื้นฐานแล้ว  วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของการสังเกตโลกรอบตัวและการสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งที่เห็น ศึกษาตั้งแต่สิ่งเล็ก ๆ



วิทยาศาสตร์ให้อะไรกับเด็ก

1.  กระบวนการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล   เพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของเหตุผล   พิสูจน์ได้
2.  พัฒนาการทางความคิดมากกว่าความจำ  ไม่มีทฤษฎีใดในโลกที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
 3.  จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์  คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าวิทยาศาสตร์กับจินตนาการเป็นคนละเรื่องกัน
 4.  ทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์  เด็ก ๆ อาจคิดอย่างเป็นเหตุผลและเป็นระบบอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ถ้าเด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างถูกวิธี



แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยเป็นการตอบสนองและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในการเรียนรู้โลกธรรมชาติรอบตัวและพัฒนาทักษะทางสติปัญญาต่าง ๆ เนื่องจากเด็กในระดับปฐมวัยมีธรรมชาติของการสืบเสาะหาความรู้แบบวิทยาศาสตร์อยู่ในตนเอง  การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม



เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 

 เด็กปฐมวัยเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในแง่ของทักษะพื้นฐาน  กระบวนการและสาระวิทยาศาสตร์เบื้องต้น  เป้าหมายสำคัญของการเรียน  คือแสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ